วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คำอวยพรปีใหม่ภาษาฝรั่งเศส

Du fond du Coeur, je présente à chacun d’entre vous mes meilleurs voeux pour cette nouvelle année.
จากก้นบึ้งหัวใจ ขอให้คุณทุกคนมีความสุขในวันปีใหม่นี้
Que cette nouvelle année vous apporte la réussite dans tout ce que vous entreprenez
ขอให้ปีใหม่นี้ นำมาซึ่งความสำเร็จในทุก ๆ สิ่งที่คุณทำ
Que le bonheur soit au rendez-vous dans vos cœurs et dans ceux de vos proches
ขอให้คุณและคนใกล้ชิดมีแต่ความสุขในหัวใจตลอดปีใหม่นี้
Tous mes Voeux de Bonheur,
du plus profond de mon coeur,
pour cette nouvelle année,
sois heureuse et en bonne santé.

(กลอน) ขอให้คุณมีสุข
จากก้นบึ้งหัวใจ
เนื่องในวันปีใหม่
ขอให้สดใสและสุขภาพดี

A l’occasion de cette nouvelle année, je te souhaite tous mes vœux de bonheur et surtout de santé, à toi et à tous les êtres qui te sont chers.
เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ฉันขอให้เธอประสบแต่ความสุข มีสุขภาพดี ทั้งตัวเธอและคนที่เธอรัก
Une carte de voeux ordinaire, afin de te souhaiter un bonheur extraordinaire pour cette nouvelle année.
การ์ดอวยพรธรรมดา ๆ ส่งให้เธอ เพื่อขอให้เธอพบแต่ความสุขอันยิ่งใหญ่ในวันปีใหม่นี้
Avec cette carte de voeux, et pour cette nouvelle année, je te souhaite d'oser.

Oser réaliser tes rêves.
Oser concrétiser tes projets.
Oser profiter de ton bonheur.
Oser apprécier l'amour qu'on te donne.
Oser avoir tout le succès que tu mérites.
การ์ดอวยพรปีใหม่นี้ส่งให้เธอ ฉันขอให้เธอกล้า

กล้าที่สร้างฝันให้เป็นจริง
กล้าที่จะทำสิ่งที่เธอปรารถนาให้เป็นรูปร่าง
กล้าที่จะตักตวงความสุข
กล้าที่จะรับรักที่คนอื่นให้
กล้าที่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เธอควรได้
Par cette carte de voeux, je te souhaite que les 365 prochains jours soient pleins de bonheur, et que les 365 prochaines nuits soient pleines de beaux rêves.
ฉันของส่งการ์ดอวยพรนี้ให้เธอเพื่อขอให้ 365 วันข้างหน้า เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขและ 365 คีนในอนาคตเต็มเปี่ยมไปด้วยฝันดี
Une nouvelle année, mais toujours le même amour pour toi.

Une nouvelle année, mais toujours cette grande passion pour toi.

Une nouvelle année, mais toujours ce désir d'un avenir avec toi.

Une nouvelle année, et une carte de voeux pour te dire tout ça...
ปีใหม่ แต่ฉันยังรักเธอเหมือนเดิม
ปีใหม่ แต่ฉันยังคลั่งไคล้เธอเหมือนเดิม
ปีใหม่ แต่ฉันยังปรารถนาที่จะใช้อนาคตกับเธอเหมือนเดิม
ปีใหม่ กับการ์ดอวยพรเพื่อบอกความในใจทั้งหมดนี้ กับเธอ
J'utiliserai donc cette carte de voeux pour simplement te souhaiter un bonheur infini pour cette nouvelle année qui commence.
ฉันส่งการ์ดอวยพรนี้ให้เธอเพื่อขอให้เธอมีความสุขอย่างไม่สิ้นสุดตลอดปีใหม่ที่กำลังเริ่มต้น
Pour cette nouvelle année je t'envoie cette très très très très très jolie carte de voeux, pour te souhaiter une merveilleuse, une phénoménale, une magnifique nouvelle année.
ปีใหม่นี้ ฉันส่งการ์ดน่ารัก ๆๆๆๆๆๆๆ นี้ให้เธอ เพื่ออวยพรให้เธอมีปีใหม่ที่แสนสุขสันต์ สุดยอด สุดเลิศ
Cette carte de voeux pour te souhaiter le plus simplement mais aussi le plus sincèrement une très bonne année.

J'espère que cette nouvelle année sera l'année de l'aboutissement de tes projets.
การ์ดใบนี้มีพร้อมกับความจริงใจที่จะอวยพรให้เธอสุขสันต์วันปีใหม่
หวังว่าปีใหม่นี้จะเป็นปีที่เธอประความสำเร็จในสิ่งที่เธอตั้งใจ
Bonne année, bonne santé, et tout ce qui va avec !
สุขสันต์วันปีใหม่ สุขภาพแข็งแรง และประสบแต่ความสุขตลอดไป
Une nouvelle année c'est de nouvelles aventures, de nouveaux espoirs, de nouvelles rencontres, de nouveaux centres d'intérêt, et pour certains une nouvelle vie.
Bonne année, et surtout profitez bien.
ปีใหม่ การผจญภัยใหม่ ๆ ความหวังใหม่ ๆ พบเจอคนใหม่ ๆ เรื่องราวน่าสนใจใหม่ ๆ และชีวิตใหม่สำหรับใครบางคน
สุขสันต์วันปีใหม่ และจงใช้ให้คุ้มค่า
Avec cette carte de voeux,
Je nous souhaite,
Une année ensoleillée
Une année amoureuse
Une année riche en projets
Une année où le rire sera roi
Et où nous prendrons le temps...
de nous aimer.

ด้วยการ์ดปีใหม่นี้
ขออวยพรให้
ปีใหม่นั้นสดใจ
เต็มเปี่ยมด้วยความรัก
การงานรุ่งเรือง
ร่ำรวยด้วยเสียงหัวเราะ
และเป็นปีที่เรามีเวลามอบความรักให้กันและกัน
A l'aube de cette nouvelle année, par cette carte de voeux, nous vous adressons nos voeux de paix, de joie, et d'espérance.
ปีหน้าฟ้าใหม่ใกล้มาถึงแล้ว เราขออวยพรให้คุณประสบแต่ความสุขสำราญและเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง


วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Pronoms interrogatifs


Pronoms interrogatifs


เมื่อทั้งผู้พูดและผู้ฟังรู้ว่ากำลังพูดถึงอะไรอยู่ แต่ไม่ต้องการพูดซ้ำคำนามนั้น เราสามารถเลือกใช้ Pronoms interrogatifs แทนได้ สรรพนามสำหรับตั้งคำถามนี้มีอยู่ 4 ตัว คือ



lequel แทนนามเอกพจน์เพศชาย

laquelle แทนนามเอกพจน์เพศหญิง

lesquels แทนนามพหูพจน์เพศชาย

lesquelles แทนนามพหูพจน์เพศหญิง



ใช้ตั้งคำถามว่า อันไหน คนไหน โดยไม่ต้องมีนามตามหลังเหมือน quel (ดูเรื่อง adj interrogatif)

เช่น

Il y a 2 voitures. Laquelle est à nous ? มีรถอยู่สองคัน คันไหนเป็นของเรา

De ces deux bus, lequel prends-tu ? มีรถบัสอยู่สองคัน เธอขึ้นคันไหน



บางครั้งอาจมีบุรพบทนำหน้าได้ เช่น

De ces livres, desquels (de+lesquels) est-ce que tu parles ? หนังสือกองนี้ เธอพูดถึงเล่มไหนอยู่ (parler de)

Il y a 2 chiens. Avec lequel as-tu joué ? มีหมาอยู่สองตัว เธอเล่นกับตัวไหน



สำคัญ สรรพนาม 4 ตัวนี้สามารถทำหน้าที่เป็นกรรมตรงได้ เมื่อมาอยู่หน้ากริยาช่วยavoir แล้วตามหลังด้วย participe passé จะส่งผลให้เกิดการ accord ด้วย คนช่างสังเกตจะเห็นความแตกต่างทันที ออกข้อสอบบ่อย เช่น



Lequel est-ce que tu as choisi ?เธอเลือกอันไหน

Laquelle est-ce que tu as choisie ?

Lesquels est-ce que tu as choisis ?

Lesquelles est-ce que tu as choisies ?

วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Conjonction

Conjonction

คำเชื่อมบอก เหตุ ผล แย้ง เป้า

กลุ่มที่ 1 คำเชื่อมบอกเหตุ เพราะอะไร มักจะเป็นคำตอบของคำถาม Pourquoi


1.1   คำเชื่อมบอกเหตุที่ตามด้วยประโยค indicatif (mode indicatif ก็คือกริยาที่กระจายใน temps Présent, passé composé, imparfait, plus-que-parfait, futur simple, futur antérieur เป็นต้น)

* Parce que (เพราะว่า) + phrase à l’indicatif

EX. Julien est en retard parce que son réveil n’a pas sonné. จูเลียงมาสาย เพราะนาฬิกาปลุกไม่ทำงาน
* Car (เพราะว่า)  + phrase à l’indicatif
(sourtout à l’écrit) นิยมใช้ในภาษาเขียนนะครับ
EX. Les gens des pays occidentaux vont souvent dans les pays asiatiques car il n’y a pas beaucoup de soleil chez eux en hiver. คนจากประเทศตะวันตกชอบมาเที่ยวประเทศในเอเชียเพราะในฤดูหนาว ที่บ้านของพวกเขาไม่ค่อยมีแสงแดด
* Puisque, comme (เนื่องจาก)  + phrase à l’indicatif
EX. Puisque tu es Thaïlandais, tu as un passeport thaïlandais. เนื่องจากเธอเป็นคนไทย เธอก็ต้องมีพาสปอร์ตไทย
Puisque จะนิยมวางไว้หน้าประโยคหรือตรงกลาง ส่วนComme นิยมวางไว้หน้าประโยค
การใช้ puisque และ comme เป็นการบอก เหตุ ที่เรารู้กันดีว่าจะส่งไปสู่ ผล อะไร ดังเช่น ตัวอย่างที่ยกไว้ ก็ในเมื่อเป็นคนไทย ก็ต้องมีพาสปอร์ตไทย คนพูดก็รู้คนฟังก็รู้ ไม่มีข้อโต้แย้ง หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง Puisque tu ne veux pas m’accompagner, j’y vais seul. ก็เธอไม่อยากไปเป็นเพื่อนฉัน ฉันไปคนเดียวก็ได้ (เธอรู้ ฉันรู้) แต่ J’y vais tout seul parce que mon père ne veut pas m’accompagner. ฉันไปคนเดียว เพราะพ่อไม่อยากไปด้วย (ฉันรู้ แต่คนฟังไม่รู้ ก็เลยอธิบายเหตุผล) ในภาษาอังกฤษเทียบเคียบได้กับ since

1.2 คำเชื่อมบอกเหตุที่ตามด้วยนามหรือสรรพนาม

*A cause de (เพราะ...) + nom, pronom

(idée négative ou neutre) บอกเหตุที่มีความรู้สึกกลางถึงลบ
EX. Hier, on circulait très mal à cause de la pluie. เมื่อวานนี้รถติดมากเพราะฝนตก
Grâce à + nom, pronom
(idée positive) บอกเหตุที่เป็นแง่บวกเท่านั้น
EX. La vie des villageois a complètement changé grâce àl’électricité. ชีวิตชาวบ้านเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อมีไฟฟ้า

กลุ่มที่ 2 คำเชื่อมบอก ผล

* Donc (ดังนั้น ออกเสียงว่า ด๊ง) ตามด้วยประโยค indicatif

EX. Marie est malade, donc elle reste au lit. มารีป่วย ดังนั้น เธอจึงนอนพักอยู่บนเตียง

*Alors (ดังนั้น) ตามด้วยประโยค indicatif

EX. Vous avez 18 ans, alors vous pouvez voter. พวกเธอมีอายุ 18 ปีแล้ว ดังนั้น เลือกตั้งได้

*C’est pour ça que (ด้วยเหตุนี้) ตามด้วยประโยค indicatif (หรือพูดยาว ๆ ว่า C’est la raison pour laquelle)

EX. Je me suis trompé de bâtiment. C’est pour ça que je n’ai pas trouvé l’appartement. ฉันจำตึกผิด ก็เพราะเหตุนี้ฉันก็เลยหาคอนโดไม่เจอ

กลุ่มที่ 3 คำเชื่อมบอกความ แย้ง” ข้อความหน้าและหลัง ขัดกัน

 

3.1 คำเชื่อมบอกความขัดแย้งที่ตามด้วยประโยค indicatif

*Mais (แต่) ตามด้วยประโยค indicatif

EX. Je veux aller à l’étranger, mais je n’ai pas assez d’argent. ฉันอยากไปต่างประเทศ แต่ไม่มีเงินพอ

*Pourtant, cependant (แม้กระนั้น) ตามด้วยประโยค indicatif

EX. Il n’est pas riche, pourtant il a beaucoup d’amis. เขาไม่รวย แม้กระนั้น เขาก็มีเพื่อนเยอะ

3.2 คำเชื่อมบอกความขัดแย้งที่ตามด้วย นาม หรือ สรรพนาม

*Malgré (แม้ว่า) + nom, prénom

EX. Malgré la pluie, le travail continue. แม้ว่าฝนจะตก งานก็ดำเนินต่อไป
ใช้ expression “quand même” บอกความขัดแย้งได้ เช่น Il pleut. Le travail continue quand même.

3.3 คำเชื่อมบอกความขัดแย้งที่ตามด้วยประโยค indicatif
*Même si (แม้ว่า)
EX. Il continue à travailler même s’il est fatigué. เขายังคงทำงานต่อไป แม้ว่าจะเหนื่อย

3.4 คำเชื่อมบอกความขัดแย้งที่ตามด้วยประโยค mode subjonctif

*Bien que, quoique (แม้ว่า) + ประโยค subjonctif

EX. Bien qu’il fasse chaud, nous n’avons pas encore allumé le climatiseur. แม้ว่าจะร้อน แต่เราก็ยังไม่เปิดแอร์ (ห้ามใส่ mais กลางประโยค เหมือนกับการใช้ Although …ที่ห้ามตามด้วย but)

 


กลุ่มที่ 4 คำเชื่อมบอก เป้า ใช้นำคำอธิบายว่าเพื่ออะไร

*Pour, afin de (เพื่อ) + แม่กริยา infinitif (แต่ afin deนิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่า)
EX. On a besoin d’un permis spécial pour conduire un avion. เราต้องมีใบขับขี่พิเศษเพื่อขับเครื่องบิน

*Pour que, Afin que (เพื่อ) + phrase au subjonctif  ระวัง ประโยคที่ตามหลังต้องอยู่ใน mode subjonctif

EX. Les magasins seront ouverts dimanche pour que les gens puissentsubjonctif Verbe Pouvoir faire leurs achats de Noëlร้านค้าจะเปิดวันอาทิตย์เพื่อให้ผู้คนมาจับจ่ายซื้อของเตรียมงานวันคริสต์มาส

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คุณศัพท์และสรรพนามชี้เฉพาะ

คุณศัพท์และสรรพนามชี้เฉพาะ

Adjectifs démonstratifs คุณศัพท์ชี้เฉพาะได้แก่
ce         + นามเพศชาย เช่น ce garçonเด็กชายคนนี้
cet        + นามเพศชายขึ้นต้นด้วยสระ เช่น cet immeubleตึกหลังนี้ หรือ H muet เช่นcet hommeผู้ชายคนนี้
cette      + นามเพศหญิง เช่น cette chansonเพลงบทนี้
ces       + นามเพศชายหรือหญิงพหูพจน์ เช่น ces garconsเด็กชายเหล่านี้

ตัวอย่าง
J’aime beaucoup cette chanson. ฉันชอบเพลงนี้มาก

Pronoms démonstratifs สรรพนามชี้เฉพาะ มีไว้ใช้แทนการพูดซ้ำในสิ่งที่พูดถึงไปแล้ว ผู้พูดและผู้ฟังต้องรู้ร่วมกันว่า สิ่งที่พูดถึงนั้นคืออะไร สรรพนามชี้เฉพาะจะเปลี่ยนรูปไปตามเพศและพจน์ของนามที่มันแทน ซึ่งได้แก่
celui แทนนามชี้เฉพาะเพศชายเอกพจน์
celle แทนนามชี้เฉพาะเพศหญิงเอกพจน์
ceux แทนนามชี้เฉพาะเพศชายหรือชายหญิงพหูพจน์
celles แทนนามชี้เฉพาะเพศหญิงพหูพจน์

ตัวอย่าง
Quelle robe préférez-vous ?คุณชอบกระโปรงตัวไหน
Celle-ci ou celle-là ? ตัวนี้หรือตัวนั้น บอกความใกล้ไกลได้ด้วยการเติม ci และ 

L’enfant de Marc ? ลูกของมาร์คน่ะหรือ  
C’est celui qui joue dans le jardin. ก็คนที่เล่นอยู่ในสวนไง

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

La Révolution française การปฏิวัติฝรั่งเศส

La Révolution française




La Révolution française est la période de l'histoire de France, de la Belgique et du Luxembourg comprise entre l'ouverture des États généraux, le 5 mai 1789, et le coup d'État du 18 brumaire de Napoléon Bonaparte, le 9 novembre 1799. Il s'agit d'un moment crucial de l'histoire de France, puisqu'elle marque la fin de l'Ancien Régime, et le remplacement de la monarchie absolue française par unemonarchie constitutionnelle, puis par la Première République. Elle a mis fin à la royauté, à la société d'ordres et aux privilèges. Elle a légué à la France la Déclaration des droits de l'homme et du citoyen, qui proclame l'égalité des citoyens devant la loi, les libertés fondamentales et la souveraineté de la Nation, apte à se gouverner au travers de représentants élus. Plusieurs centaines de milliers de personnes trouvèrent la mort durant cette révolution, notamment pendant la Terreur (16 594 personnes guillotinées) et pendant les tentatives de contre-révolution, notamment la guerre de Vendée.

Dès son commencement, la portée universelle des idées de la Révolution française a été proclamée par ses partisans, et l'ampleur de ses conséquences soulignée par ses détracteurs2. Les guerres de la Révolution française, qui ont touché une large partie de l’Europe continentale, ont abouti à la création de « républiques sœurs » et à la transformation des frontières et des États d'Europe, contribuant à la diffusion des idées révolutionnaires. Ces conflits ont ensuite trouvé leur prolongement dans les guerres napoléoniennes. La Révolution est restée un objet de débats ainsi qu'une référence positive tout autant que négative tout au long des deux siècles qui l'ont suivie, en France comme dans le monde.

La Révolution française a créé des divisions immédiates et durables entre les partisans des idées révolutionnaires et les défenseurs de l'ordre ancien, et aussi entre les anticléricaux et l'Église catholique.

En 1799, Napoléon Bonaparte accède au pouvoir et inaugure la période du Consulat, qui aboutit, cinq ans plus tard, à l'avènement de l'Empire.


การปฏิวัติฝรั่งเศส


การปฏิวัติฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค (upheaval) ทางสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนถึงรากฐานในฝรั่งเศสซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสและยุโรปที่เหลือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสผ่านการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ของอภิชนและทางศาสนาหมดสิ้นไปภายใต้การประทุษร้ายอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มการเมืองฝ่ายสาธารณรัฐมูลวิวัติ ฝูงชนบนท้องถนนและชาวนาในชนบท ความคิดเก่าเกี่ยวกับประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัญชา ของอำนาจพระมหากษัตริย์ อภิชนและศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลันโดยความเสมอภาค ความเป็นพลเมืองและสิทธิที่ไม่โอนให้กันได้ อันเป็นหลักการใหม่แห่งยุคเรืองปัญญา

การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้นใน ค.ศ. 1789 ด้วยการเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ในปีแรกของการปฏิวัติ เกิดเหตุการณ์สมาชิกฐานันดรที่สามประกาศคำปฏิญาณสนามเทนนิสในเดือนมิถุนายน การทลายคุกบาสตีย์ในเดือนกรกฎาคม คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในเดือนสิงหาคม และการเดินขบวนสู่แวร์ซายซึ่งบังคับให้ราชสำนักกลับไปยังกรุงปารีสในเดือนตุลาคม เหตุการณ์อีกไม่กี่ปีถัดมาส่วนใหญ่เป็นความตึงเครียดระหว่างสมัชชาเสรีนิยมต่าง ๆ และพระมหากษัตริย์ฝ่ายขวาแสดงเจตนาขัดขวางการปฏิรูปใหญ่

มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิตในปีถัดมา ภัยคุกคามจากนอกประเทศยังมีบทบาทครอบงำในพัฒนาการของการปฏิวัติ สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1792 และสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝรั่งเศสที่อำนวยการพิชิตคาบสมุทรอิตาลี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกของแม่น้ำไรน์ อันเป็นความสำเร็จซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสแต่ก่อนทำไม่ได้มาหลายศตวรรษ

ส่วนในประเทศ อารมณ์ของประชาชนได้เปลี่ยนการปฏิวัติถึงรากฐานอย่างสำคัญ จนลงเอยด้วยการขึ้นสู่อำนาจของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์และกลุ่มฌากอแบ็ง (Jacobins) และเผด็จการโดยแท้โดยคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะระหว่างสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ตั้งแต่ ค.ศ. 1793 ถึง 1794 ซึ่งมีผู้ถูกสังหารถึงระหว่าง 16,000 ถึง 40,000 คน หลังกลุ่มฌากอแบ็งเสื่อมอำนาจและรอแบ็สปีแยร์ถูกประหารชีวิต คณะไดเรกทอรี (Directory) เข้าควบคุมรัฐฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1795 และถืออำนาจถึง ค.ศ. 1799 เมื่อถูกแทนที่ด้วยคณะกงสุล (Consulate) ภายใต้นโปเลียน โบนาปาร์ต

การปฏิวัติฝรั่งเศสนำมาซึ่งยุคใหม่ของฝรั่งเศส การเติบโตของสาธารณรัฐและประชาธิปไตยเสรีนิยม การแผ่ขยายของฆราวาสนิยม การพัฒนาอุดมการณ์สมัยใหม่และการประดิษฐ์สงครามเบ็ดเสร็จทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติ เหตุการณ์สืบเนื่องซึ่งสามารถสืบยอนไปได้ถึงการปฏิวัติมีสงครามนโปเลียน การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์สองครั้งแยกกัน และการปฏิวัติอีกสองครั้ง (ค.ศ. 1830 และ 1848) ขณะที่ฝรั่งเศสสมัยใหม่ก่อร่างขึ้น



La France dans les années 1780


La société sous l'Ancien Régime repose sur l'existence de droits médiévaux, les privilèges (leges privatae, lois particulières) qui sont les statuts dont disposent non seulement les corps constitués tels que le clergé et la noblesse, mais aussi les provinces, les villes et les corporations.

La Révolution française, qui naît d'une crise financière due à la guerre d'indépendance des États-Unis, concentre essentiellement discours et critiques sur les privilèges fiscaux du clergé et de la noblesse (le poids des impôts est inégalement réparti entre ceux-ci et le Tiers État alors que celui-ci est le plus productif). Mais à l'intérieur même du Tiers État (qui représente 97 % de la population)3, il y a de fortes différences selon le métier, la province voire la ville. Les lois sont différentes en Bretagne et en Languedoc.

Ce manque d'unicité de la loi sous l'Ancien Régime est soit le fruit des agrandissements du royaume (le nouveau territoire reconnaît la souveraineté du roi de France et demande à celui-ci le respect de ses coutumes), soit des traditions sociales (par exemple, la noblesse ne paie pas l'impôt de la taille personnelle mais en échange doit payer « l'impôt du sang » c'est-à-dire faire la guerre pour le royaume ; les habitants du village de Domrémy ne paient pas d'impôts) ou professionnelles (par exemple les savetiers ont des privilèges que n'ont pas les cabaretiers et inversement, sachant que ces privilèges varient d'une province à l'autre)

Les privilèges gênent l'établissement d'une politique générale, entravent les volontés de réforme du gouvernement (notamment sous Louis XV), ralentissent les échanges (il y a des péages d'une province à l'autre, voire d'une ville à l'autre). Ils figent la société.

Au xviiie siècle, l'essor de nouvelles catégories sociales dans les villes et dans les gros bourgs est indéniable. Parmi les nouvelles couches, on distingue d'une part une bourgeoisie marchande ou financière, qui profite de l’enrichissement global, et pour une fraction d'entre elle des grandes spéculations boursières sous Louis XVI, des laboureurs, des paysans riches qui peuvent offrir à leurs enfants une éducation et d'autre part une bourgeoisie de fonctionnaires et d'hommes de loi qui aspire à jouer un rôle politique4.

Cependant la société semble se figer, l’accès à la noblesse se ferme. Dans les années 1780, les nobles qui ont besoin de numéraire remettent en vigueur des droits féodaux oubliés et contrôlent de manière plus tatillonne leur perception : c’est la réaction nobiliaire. À la fin des années 1780, les mauvaises récoltes jettent à la rue les membres les plus fragiles des communautés, mais la Révolution n'arrive pas comme une conséquence de ces dernières années, l'historien Jean Nicolas recensant pendant tout le XVIIIe siècle, qu'il appelle le « siècle d'intranquillité », pas moins de 8 528 révoltes de communautés paysannes qui se politisent de plus en plus

สาเหตุ


ผู้สนับสนุนแบบจำลองที่อิงประวัติศาสตร์ที่สุดบ่งชี้คุณลักษณะเดียวกันของระบอบเก่า (Ancien Régime) จำนวนมาก ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาสาเหตุของการปฏิวัติ ปัจจัยทางเศรษฐกิจรวมถึงความหิวและทุพโภชนาการในประชากรกลุ่มที่แร้นแค้นที่สุด อันเนื่องมาจากราคาขนมปังที่สูงขึ้น หลังจากการเก็บเกี่ยวธัญพืชที่ให้ผลไม่ดีหลายปี การเก็บเกี่ยวที่เลว ซึ่งบางส่วนเกิดจากสภาพอากาศผิดปกติจากเอลนีโญ ร่วมกับพฤติการณ์ภูเขาไฟที่ลากีและกริมสวอทน์ใน ค.ศ. 1783-1784 ประกอบกับราคาอาหารที่สูงขึ้น และระบบการขนส่งที่ไม่เพียงพอซึ่งขัดขวางการส่งสินค้าอาหารปริมาณมากจากพื้นที่ชนบทไปยังศูนย์กางประชากรขนาดใหญ่มีส่วนทำให้สังคมฝรั่งเศสขาดเสถียรภาพในช่วงก่อนการปฏิวัติอย่างยิ่ง

อีกสาเหตุหนึ่งคือ การล้มละลายอย่างสิ้นเชิงของรัฐจากค่าสงครามที่ผ่านมาจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเครียดทางการเงินอันเกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามปฏิวัติอเมริกาของฝรั่งเศส ภาระของสังคมที่เกิดขึ้นจากสงครามรวมถึงหนี้สงครามมหาศาล ซึ่งการณ์ยิ่งเลวร้ายลงจากการสูญเสียการครอบครองอาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือและการครอบงำทางพาณิชย์ของบริเตนใหญ่ที่เพิ่มขึ้น ระบบการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพและล้าสมัยของฝรั่งเศสไม่สามารถจัดการกับหนี้สาธารณะได้ ซึ่งบางส่วนเกิดขึ้นจากภาระของระบบการเก็บภาษีอากรที่ไม่เพียงพอ เพื่อหาเงินใหม่เพื่อดักการผิดนัดชำระหนี้การกู้ยืมของรัฐบาล พระมหากษัตริย์จึงทรงยกเลิกสภาชนชั้นสูง (Assembly of Notables) ใน ค.ศ. 1787

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Passé composé

เมื่อบทที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องกาลปัจจุบันมาแล้ว คราวนี้เราจะมาว่ากันถึงกาลอดีต หรือเรื่องที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดไปแล้วในอดีต คนที่กระจายกริยา être และ avoir ในกาลปัจจุบันถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะได้เปรียบมาก แต่ถ้าใครยังกระจายกริยา 2 ตัวนี้ในกาลปัจจุบันไม่ได้ ทบทวนเดี๋ยวนี้เลย


Avoir
Etre
Je, J’
ai
suis
Tu
as
es
Il/elle
a
est
Nous
avons
sommes
Vous
avez
êtes
Ils/elles
ont
sont


กาลอดีตหรือ Passé composé เกิดจากการนำ กริยา être หรือ avoir ในกาลปัจจุบันมาบวกกับ participe passé

แล้ว participe passé มันคืออะไร ?

จะว่าไปแล้ว มันก็คล้ายกับกริยาช่องที่ 3 ในภาษาอังกฤษ ที่ต้องใช้คู่กับกริยาช่วย เดี๋ยวจะอธิบายโดยละเอียดให้ดู แต่สิ่งที่ควรรู้ก่อนก็คือ เวลาทำกาลอดีต ในภาษาฝรั่งเศสเรามีกริยาช่วย 2 ตัวคือ Etre และ Avoir อย่างที่ให้ฝึกกระจายไว้ด้านบน ทีนี้เราก็ต้องมาเลือกว่าใช้ตัวไหนดี

1. กริยาที่ใช้ avoir มาช่วย กริยาส่วนมากใช้ avoir มาช่วย โดยต้องกระจาย กริยา avoirให้ถูกต้องตรงกับประธานของประโยค ก่อนที่จะนำมาประกอบกับกริยาหลักในรูปParticipe passé เช่น กริยา Parler


วิธีการทำ Participe passé (เรียกสั้น ๆ ว่า PP. ออกเสียงว่า เป-เป ไม่ใช่ ปี-ปี เพราะ ปี-ปี แปลว่า ฉี่) มีกฎให้จำง่าย ๆ คือ

กริยากลุ่มที่ 1 ลงท้ายด้วย ER ตัด ER ทิ้งแล้วเติม é

เช่น Parler ตัด er ก็จะเหลือ Parl นำมาเติม é ก็จะได้ Parlé แล้วจึงนำมารวมกับกริยาAvoir ที่กระจายแล้วก็จะได้
J’                  ai parlé
Tu                as parlé
Il/elle           a parlé
Nous             avons parlé
Vous             avez parlé
Ils/elles        ont parlé

แค่นี้เราก็ได้อดีตของกริยา Parler แล้ว รวดเร็วทันใจดีแท้

ตัวอย่าง J’ai parlé de mon projet avec mon père. ฉันคุยเรื่องโครงการกับพ่อแล้ว
Passé composé

กริยากลุ่มที่ 2 ลงท้ายด้วย IR ตัด IR ทิ้ง เติม i

เช่น Finir ตัด ir ก็จะเหลือ fin นำมาเติม i ก็จะได้ fini แล้วจึงนำมารวมกับกริยา Avoirที่กระจายแล้วก็จะได้


J’                  ai fini
Tu                as fini
Il/elle            a fini
Nous             avons fini
Vous             avez fini
Ils/elles         ont fini

ตัวอย่าง J’ai fini mon devoir hier. ฉันทำการบ้านเสร็จเมื่อวานนี้


อยากรู้ว่ากริยากลุ่ม 2 นี้มีตัวไหนบ้าง ไปดูใน Présent อย่าเดา อย่ามั่วเอาเองนะคนดี
2. กริยาที่ต้องการ être มาช่วยใน Passé composé กริยากลุ่มนี้มีไม่มากนัก และต้องท่องให้แม่น นอกจากนี้ยังต้องระวังการเปลี่ยนเพศและพจน์ตามประธานที่เรียกว่าAccord(อัก-กอร์ ไม่ใช่ แอคคอร์ด)  ด้วย กริยาที่ต้องใช้ être มาช่วย ได้แก่

Verbe
Participe passé
Verbe
Participe passé
allerไป
allé
venirมาจาก
revenirกลับมาจาก
devenirกลายเป็น
venu
revenu
devenu
arriverมาถึง
arrivé
partirไปจาก
parti
entrerเข้า
entré
sortirออกจาก
sorti
monterขึ้น
monté
descendreลง
descendu
naîtreเกิด
mourirตาย
décéderตาย
mort
décédé
tomberตก
tombé
passerผ่าน
passé
retournerย้อนกลับมา
retourné
resterอยู่พัก
demeurerอยู่พัก
resté
demeuré

Passé composé ที่ต้องใช้กับกริยา être จึงมีหน้าตาดังตัวอย่างนี้

Je suis
Tu es
Il/elle est
Nous sommes              participe passé (accord)
Vous êtes
Ils/elles sont


ตัวอย่าง
Je suis allé (alléeถ้า Je เป็นหญิง) en ville.
Tu es revenu (revenueถ้า Tu เป็นหญิง) à 2 heures.
Il est monté dans l’autobus/Elle est née le 24 juillet.
Nous sommes venusชายพหูพจน์หรือชายหญิงรวมกัน (venuesหญิงพหูพจน์) en retard.
Vous êtes partiชายเอกพจน์ (partieหญิงเอกพจน์, partisชายพหูพจน์, partiesหญิงพหูพจน์).
Ils sont restés/Elles sont restées.

ระวังประธาน Nous ที่จะต้องเป็นพหูพจน์เสมอ และประธาน Vous ที่สามารถเป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ เพศชายและเพศหญิง แบบโฟร์อินวัน




ข้อยกเว้น กริยา sortir (เอาออกมา), monter (เอาขึ้น), descendre (เอาลง) ถ้ามีกรรมตรง (COD) ตามหลัง จะต้องใช้ avoir เป็นตัวช่วย ไม่ใช้กริยา Etre เช่นเดียวกับ passer(ใช้เวลา) เมื่อตามหลังด้วยเวลา อันนี้เป็นไวยากรณ์ขั้นสูงหน่อย ถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ ไม่เป็นไร ไปเรียนเรื่องกรรมให้เสร็จก่อนค่อยกลับมาอ่านใหม่ก็ได้ แต่ข้อยกเว้นชุดนี้ ออกข้อสอบบ่อย

ตัวอย่าง
Il a passé 2 ans(เวลา) en France.เขาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา 2 ปี
Sylvie a monté sa valise (COD) au 2e étage. ซิลฟีเอากระเป๋าขึ้นชั้นสอง
Nous avons sorti nos livres(COD)  du cartableเราเอาหนังสือออกจากกระเป๋า
Les mères ont descendu les enfants(COD)  de l’arbre.แม่เอาเด็กลงมาจากต้นไม้

เมื่อใช้กับ avoir จึงไม่มีการ accord ที่ pp. ตามเพศและพจน์ของประธาน ยกเว้นเมื่อเปลี่ยนกรรมตรงเป็นสรรพนามแล้ววางไว้หน้า avoir+pp. (งงล่ะสิ เอาไว้เรียนเรื่องกรรมเพิ่มแล้วจะเข้าใจ)