วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ชวนไปกินข้าว

 ชวนไปกินข้าว

วันหนึ่งเจอแฮรี่ขณะกำลังเดินไปหาอะไรกิน อยากจะชวนเขาไปกินข้าวกับเราด้วย จะพูดอย่างไรดี

เริ่มด้วยการทักทายตามเคย

Tony: Hi, Harry. How’s thing? {ไฮ แฮหรี่ ฮาวส์ติงเป็นไงบ้าง
Harry: Hi, Tony. I’m fine and you? {ไฮ โทหนี่ อัมฟายน์ แอนดิ้ว}
Tony: Not bad. {นอทแบดก็ไม่เลว

จากนั้นก็ลองถามว่าเขาจะไปไหน Where are you going? คำถามว่าไปไหน หรือWhere did you go? ไปไหนมา เป็นคำถามติดปากคนไทย แต่กับฝรั่ง ใช้กับคนที่ค่อนข้างสนิทดีกว่า เพราะฝรั่งมีความเป็นส่วนตัวสูง ไปถามสุ่มสี่สุ่มห้า เดี๋ยวเขาจะหาว่าเรายุ่งไม่เข้าเรื่อง

Tony: Where are you going? {แวร์อ้าร์ยูโกอิ่งจะไปไหนหรือ
Harry: I’m going to have lunch. {อัมโกอิงทุแฮฟลั้นช์จะไปกินข้าวกลางวัน
Tony: Me, too. Let’s go together. {มีทู่ เล็ทส์โกทุเกเถ่อเหมือนกันเลย ไปด้วยกันสิ
Harry: Sure! {ชั่วร์} ได้เลย เน้นเสียงแบบ ชั่ว

ถ้าเป็นช่วงพัก จากกินข้าวอาจเปลี่ยนเป็น I’m going to have a cup of coffeeจะไปหากาแฟกินสักแก้ว สังเกตว่านิยมใช้กริยา To have กับ Breakfast, lunch, dinner, a cup of coffee, a cup of tea… เพราะ to have ตัวเดียว ได้ทั้งกินและดื่ม

ถ้าแฮรี่เกิดไม่ว่างขึ้นมา เขาจะตอบว่า I’m afraid I can’t. หรือ Sorry, I can’t. และให้เหตุผลว่า I’m waiting for my boss หรือ my friends กำลังรอเจ้านายหรือเพื่อน รู้แบบนี้ไม่ต้องไปคะยั้นคะยอให้เขามาด้วยเด็ดขาด เดี๋ยวเขาเลิกคบเอา เราอาจจะอุทานแสดงความเสียดายสักนิดว่า What a pity! เสียดายจัง แฮรี่ก็อาจตอบมาว่า Maybe, next time. คราวหน้าก็แล้วกัน


ลองเอามารวมกันหน่อย

Tony: Hi, Harry. How’s thing? {ไฮ แฮหรี่ ฮาวส์ติง}
Harry: Hi, Tony. I’m fine and you? {ไฮ โทหนี่ อัมฟายน์ แอนดิ้ว}
Tony: Not bad. {นอทแบด}
Tony: Where are you going? {แวร์อาร์ยูโก๊อิ่ง}
Harry: I’m going to have lunch. {อัมโกอิงทุแฮฟลั้นช์}
Tony: Me, too. Let’s go together{มีทู่ เล็ทส์โกทุเกเถ่อ}
Harry: I’m afraid I can’t. I’m waiting for my boss. {อัมอะเฟรดไอค้านท์ อัมเวทถิ่งฟอร์มายบอส}
Tony: What a pity! {วอททะพิถี่}
Harry: Maybe, next time. {เมบี เน็กส์ไทม์}
Tony: Ok. See you. {โอเค ซียูตกลง แล้วเจอกันนะ
Harry: See you. {ซียูแล้วค่อยเจอกัน

กริยา See นอกจากแปลว่า เห็น แล้ว ยังใช้บ่อยในการร่ำลากันแบบเพื่อนอย่างที่เห็นในตัวอย่าง ในภาษาพูด อาจจะเพี้ยนเสียงเป็น {ซียาก็ขอให้เข้าใจว่าคือ See you นั่นเอง นอกจากนี้ See ยังใช้ในความหมาย understand หรือเข้าใจ ได้อีกด้วย เช่น You see?หรือ Do you see? ซึ่งแปลว่า เข้าใจไหม เวลาตอบก็ง่ายมาก I see. ไปเลย หรือจะใส่Oh! แล้วค่อย I see. ตามแบบชื่อรายการ OIC ของช่องห้าก็ได้

จำไว้ OIC แปลว่า อ้อ เข้าใจแล้ว

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

ประโยคเงื่อนไข

ประโยคเงื่อนไข

และแล้วก็มาถึงเรื่องประโยคเงื่อนไข ก่อนเริ่มเข้าเนื้อหา ให้เปิดไปทบทวนการกระจายกริยาใน

présent
impératif
futur simple
imparfait
plus-que-parfait
conditionnel présent
conditionnel passé

ถ้าหากยังกระจายกริยาในรูปแบบเหล่านี้ไม่คล่อง การเรียนประโยคเงื่อนไขจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ นอกจากความสับสนและความท้อถอย บอกแล้วว่า เสายังไม่แข็งแรง จะก่อกำแพงได้อย่างไร สำหรับคนที่มั่นใจว่าน่าจะผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ ก็มาเริ่มเรียนกัน ประโยคเงื่อนไขแบ่งออกเป็น 3 แบบ

แบบที่ 1 แบ่งย่อยออกเป็น 3 แบบ

1. Si+présent, présent (เป็นจริงเสมอในปัจจุบัน เป็นนิสัย)
S’il fait beauเวลาอากาศดี, on sort. เรามักออกไปข้างนอก

2. Si+présent, futur simple (มีโอกาสเป็นจริงในอนาคต)
S’il pleutถ้าฝนตก, on ne pourra pas rentrer. เราคงจะกลับบ้านไม่ได้

3. Si + présent, impératif (ประโยคคำสั่ง)
Rentre chez toi กลับบ้านไปเสีย si tu peux.ถ้าทำได้

ระวัง

ตำแหน่งของ Si สามารถสลับลงไปอยู่กลางประโยคได้อย่างที่เห็นในประโยคที่ 3 เครื่องหมายลูกน้ำก็จะหายไปเพราะมี Si ทำหน้าที่เชื่อมอยู่กลางประโยค การทำประโยคเงื่อนไขจึงต้องระวังตำแหน่งของ Si เพราะรูปแบบกริยาที่ตามหลังจะสลับกันด้วย เช่น

S’il pleut, on ne pourra pas rentrer. รูปแบบคือ Si présent, futur simple
On ne pourra pas rentrer s’il pleut. รูปแบบคือ Futur simple si présent

แบบที่ 2 พูดในสิ่งที่ไม่เป็นจริงหรือเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน

Si + imparfait, conditionnel présent

ตัวอย่าง
Si j’étais toiถ้าฉันเป็นเธอ, je choisirais l’argent. ฉันเลือกเงิน แต่ฉันเป็นเธอไม่ได้ ถ้าเป็นได้ฉันก็คงเลือกเงินจริง ๆ
Je ferais le tour du monde ฉันจะเดินทางรอบโลกsi j’étais riche.ถ้ารวย เผอิญตอนนี้ไม่รวย ก็เลยได้แต่นั่งฝันอยู่ตรงนี้...เฮ้อ

แบบที่ 3 สมมติในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วในอดีต

Si + plus-que-parfait, Conditionnel passé

ตัวอย่าง
S’il n’avait pas trop bu hierถ้าเมื่อวานเขาไม่เมา, il n’aurait pas eu l’accident.เขาก็ไม่เกิดอุบัติเหตุหรอก  ความเป็นจริงคือมันเมาแอ๋เมื่อวานนี้ แล้วก็ขับรถไปเสยตอม่อสะพานเข้า อาการเป็นตายเท่ากัน เพื่อน ๆ ก็ได้แต่นั่งบ่นว่าไม่น่าเลย...สงสัยได้กินข้าวต้มฟรีอีกแล้ว


จำให้แม่นว่า
présent ต้อง Futur (S)
imparfait คู่ condi présent
plus-que-parfait ต้อง
คู่กับ conditionnel passé

Condition หรือการทำประโยคเงื่อนไข เป็นที่รวมของรูปแบบกริยาแทบทุกแบบ คนที่ทำประโยคเงื่อนไขได้ดี จะทำรูปประโยค Discours direct/indirect ได้ดีเช่นกัน แต่ถ้าใครยังผ่านตรงนี้ไม่ได้ คงรู้ชะตากรรมตัวเอง
แต่มนุษย์ไม่ได้สร้างไว้ให้เป็นผู้แพ้มิใช่หรือ
อุทิศเวลาสักวันสองวัน ศึกษาการกระจายกริยาให้ถ่องแท้ แค่นี้หนทางข้างหน้าก็สดใสแล้ว


ต้องขอขอบคุณเว็ปที่ได้ขอนำความรู้มาเผิยแพร่  http://www.bonjourajarnton.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=487655

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

ทำความรู้จัก

ทำความรู้จัก (ต่อ)

ในบทสนทนาที่ผ่านมา เมื่อเราถามฝรั่งว่า เขาทำงานหรือเป็นนักเรียน Are you working here? Or you are a student? แล้วเขาตอบว่า I’m a student. เนื้อหาการคุยก็จะเปลี่ยนไป อาจจะลองถามเขาว่าเขาเรียนอะไรอยู่ด้วยคำถามง่าย ๆ เช่น What are you studying? แล้วเขาก็จะบอกสาขาวิชาที่เขาเรียน เช่น

MBA ปริญญาโทบริหารธุรกิจ
Journalism วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
Food science วิทยาศาสตร์การอาหาร
Law กฎหมาย เป็นต้น

แต่สาขาวิชาบางสาขาก็มีชื่อย่อซับซ้อน เหลือจะเดา คนเรียนเท่านั้นที่รู้ว่ามันคืออะไรอย่างเช่น MA in BL หรือ MA in TRM ถ้าเราฟังแล้วไม่เข้าใจ ไม่รู้จัก ก็ไม่ต้องไปทำหน้าทำตารู้ดี ฝรั่งเป็นพวกจับความรู้สึกเก่ง พอเห็นเราทำท่ารู้ดีแบบไม่เนียน เขาก็จะถามDo you know it? คุณรู้จักด้วยเหรอ เอาละสิ คราวนี้จะ Yes หรือจะ No ก็เงอะงะไปหมด ถ้าไม่รู้ก็ถามไปเลยตั้งแต่แรกว่า MA in BL หรือ MA in TRM น่ะ มันคืออะไร แล้วคำถามก็ง่ายมาก What is it? แค่นี้เอง เช่น

-          Are you working here? Or you are a student?
-          I’m a student.
-          What are you studying? {วอททาร์ยูสตัดดิอิ่ง}
-          I’m studying MA in TRM. {อัมสตัดดิอิ้ง เอ็มเอ อิน ทีอาร์เอ็ม}
-          What is it? {วอทอีสสิด}
-          Master of Arts in Tourism Management. {แมสเตอร์ออฟอาร์ส อินเทอริสซึ่มแมเนจมึนท์}

อ๋อ ที่แท้ก็เรียนปริญญาโท สาขาบริหารจัดการการท่องเที่ยว ถ้าเป็น MA in BL ก็จะเป็นMaster of Arts in Business Law ปริญญาโทกฎหมายธุรกิจการค้านั่นเอง

อย่าไปอายที่จะถาม และอย่าไปอายที่จะบอกว่าเราไม่รู้จัก ดีกว่าไปเสแสร้งตาลอยทำเป็นรู้ ถ้าเจอฝรั่งใจร้ายอยากแกล้ง เขาก็จะถามไล่จนเราจนมุม อาย เสียความรู้สึก เสียความมั่นใจและเกิดอาการเกลียดฝรั่งเสียเปล่า ๆ

เมื่อถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาได้แล้ว ก็อย่าลืมบอกข้อมูลตัวเองบ้าง การสนทนาที่ดีจะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ไม่ใช่เอาแต่ถาม ๆๆๆๆ เขาฝ่ายเดียว
ถ้าเรายังไม่ได้ทำงาน เป็นนักศึกษาอยู่ก็บอกเขาไปเลยว่า ฉันเรียนอะไรอยู่ เช่น

I’m studying Law. ฉันเรียนกฎหมาย
I’m studying BA. ฉันเรียนบริหารธุรกิจ
I’m studying IT. ฉันเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศ
แล้วจะบอกต่อว่าที่มหาวิทยาลัยไหน ก็ใช้ at บวกชื่อสถานศึกษาเข้าไปเลย เช่น

I’m studying Computer Science at Ramkamhaeng university. ฉันเรียนวิทย์-คอม ที่รามฯ เป็นต้น

าดูว่าบทสนทนาเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

-          Good morning. I’m Apichart. And you? {กึดมอร์นิง อัมอภิชาต แอนยู้}
-          Pardon? What’s your name? {พาร์ดั๊น วอทส์ยัวร์เนม}
-          My name is A-pi-chart. A-P-I-C-H-A-R-T, Apichart.
-          A-pi…What????
-          My English nickname is Tony. {มายอิงลิชนิคเนมอีส โทหนี่}
-          Ahhh! Tony! Hi. I’m Harry. Glad to know you. {อ้าาา โทหนี่ ไฮ อัมแฮหรี่ แกลดทุโนวยู}
-          Glad to know you, too. Are you working here? Or you are a student? {แกลดทุโนวยูทู อาร์ยูเวิร์กกิงเฮี๊ยร์ ออร์ยูอาร์ เอ สทิวดึนท์}
-          I’m a student. {อัม เอ สทิวดึนท์}
-          What are you studying? {วอททาร์ยูสตัดดิอิ่ง}
-          I’m studying MA in TRM. {อัมสตัดดิอิ้ง เอ็มเอ อิน ทีอาร์เอ็ม}
-          What is it? {วอทอีสสิท}
-          Master of Arts in Tourism Management. {แมสเตอร์ออฟอาร์ส อินเทอริสซึ่มแมเนจมึนท์}
-          Oh! Great! I’m studying Computer Science at Ramkamhaeng university. {โอ้ เกรท อัมสตัดดิอิงคัมพิวเตอร์ซายส์แอทรามคำแหงยูนิเวอร์ซิถี่} (ถี่ ไม่ใช่ตี้)
.........................................................
-          Well, I’ve got to go. Glad to meet you and hope to see you again. {เวล อัฟก็อตทุโก แกลดทุมีททิว แอนด์โฮปทุซียูอะเกน}
-          Thank you. See you later. {แธงกิ่ว ซียเลเถ่อร์} (ลงเสียงต่ำไว้ด้วย เถ่อไม่ใช่ เท่อ)

เริ่มต้นคุยได้แค่นี้ก็ถือว่าเก่งแล้วละ....จบ

วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คำอวยพรปีใหม่ภาษาฝรั่งเศส

Du fond du Coeur, je présente à chacun d’entre vous mes meilleurs voeux pour cette nouvelle année.
จากก้นบึ้งหัวใจ ขอให้คุณทุกคนมีความสุขในวันปีใหม่นี้
Que cette nouvelle année vous apporte la réussite dans tout ce que vous entreprenez
ขอให้ปีใหม่นี้ นำมาซึ่งความสำเร็จในทุก ๆ สิ่งที่คุณทำ
Que le bonheur soit au rendez-vous dans vos cœurs et dans ceux de vos proches
ขอให้คุณและคนใกล้ชิดมีแต่ความสุขในหัวใจตลอดปีใหม่นี้
Tous mes Voeux de Bonheur,
du plus profond de mon coeur,
pour cette nouvelle année,
sois heureuse et en bonne santé.

(กลอน) ขอให้คุณมีสุข
จากก้นบึ้งหัวใจ
เนื่องในวันปีใหม่
ขอให้สดใสและสุขภาพดี

A l’occasion de cette nouvelle année, je te souhaite tous mes vœux de bonheur et surtout de santé, à toi et à tous les êtres qui te sont chers.
เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ฉันขอให้เธอประสบแต่ความสุข มีสุขภาพดี ทั้งตัวเธอและคนที่เธอรัก
Une carte de voeux ordinaire, afin de te souhaiter un bonheur extraordinaire pour cette nouvelle année.
การ์ดอวยพรธรรมดา ๆ ส่งให้เธอ เพื่อขอให้เธอพบแต่ความสุขอันยิ่งใหญ่ในวันปีใหม่นี้
Avec cette carte de voeux, et pour cette nouvelle année, je te souhaite d'oser.

Oser réaliser tes rêves.
Oser concrétiser tes projets.
Oser profiter de ton bonheur.
Oser apprécier l'amour qu'on te donne.
Oser avoir tout le succès que tu mérites.
การ์ดอวยพรปีใหม่นี้ส่งให้เธอ ฉันขอให้เธอกล้า

กล้าที่สร้างฝันให้เป็นจริง
กล้าที่จะทำสิ่งที่เธอปรารถนาให้เป็นรูปร่าง
กล้าที่จะตักตวงความสุข
กล้าที่จะรับรักที่คนอื่นให้
กล้าที่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เธอควรได้
Par cette carte de voeux, je te souhaite que les 365 prochains jours soient pleins de bonheur, et que les 365 prochaines nuits soient pleines de beaux rêves.
ฉันของส่งการ์ดอวยพรนี้ให้เธอเพื่อขอให้ 365 วันข้างหน้า เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขและ 365 คีนในอนาคตเต็มเปี่ยมไปด้วยฝันดี
Une nouvelle année, mais toujours le même amour pour toi.

Une nouvelle année, mais toujours cette grande passion pour toi.

Une nouvelle année, mais toujours ce désir d'un avenir avec toi.

Une nouvelle année, et une carte de voeux pour te dire tout ça...
ปีใหม่ แต่ฉันยังรักเธอเหมือนเดิม
ปีใหม่ แต่ฉันยังคลั่งไคล้เธอเหมือนเดิม
ปีใหม่ แต่ฉันยังปรารถนาที่จะใช้อนาคตกับเธอเหมือนเดิม
ปีใหม่ กับการ์ดอวยพรเพื่อบอกความในใจทั้งหมดนี้ กับเธอ
J'utiliserai donc cette carte de voeux pour simplement te souhaiter un bonheur infini pour cette nouvelle année qui commence.
ฉันส่งการ์ดอวยพรนี้ให้เธอเพื่อขอให้เธอมีความสุขอย่างไม่สิ้นสุดตลอดปีใหม่ที่กำลังเริ่มต้น
Pour cette nouvelle année je t'envoie cette très très très très très jolie carte de voeux, pour te souhaiter une merveilleuse, une phénoménale, une magnifique nouvelle année.
ปีใหม่นี้ ฉันส่งการ์ดน่ารัก ๆๆๆๆๆๆๆ นี้ให้เธอ เพื่ออวยพรให้เธอมีปีใหม่ที่แสนสุขสันต์ สุดยอด สุดเลิศ
Cette carte de voeux pour te souhaiter le plus simplement mais aussi le plus sincèrement une très bonne année.

J'espère que cette nouvelle année sera l'année de l'aboutissement de tes projets.
การ์ดใบนี้มีพร้อมกับความจริงใจที่จะอวยพรให้เธอสุขสันต์วันปีใหม่
หวังว่าปีใหม่นี้จะเป็นปีที่เธอประความสำเร็จในสิ่งที่เธอตั้งใจ
Bonne année, bonne santé, et tout ce qui va avec !
สุขสันต์วันปีใหม่ สุขภาพแข็งแรง และประสบแต่ความสุขตลอดไป
Une nouvelle année c'est de nouvelles aventures, de nouveaux espoirs, de nouvelles rencontres, de nouveaux centres d'intérêt, et pour certains une nouvelle vie.
Bonne année, et surtout profitez bien.
ปีใหม่ การผจญภัยใหม่ ๆ ความหวังใหม่ ๆ พบเจอคนใหม่ ๆ เรื่องราวน่าสนใจใหม่ ๆ และชีวิตใหม่สำหรับใครบางคน
สุขสันต์วันปีใหม่ และจงใช้ให้คุ้มค่า
Avec cette carte de voeux,
Je nous souhaite,
Une année ensoleillée
Une année amoureuse
Une année riche en projets
Une année où le rire sera roi
Et où nous prendrons le temps...
de nous aimer.

ด้วยการ์ดปีใหม่นี้
ขออวยพรให้
ปีใหม่นั้นสดใจ
เต็มเปี่ยมด้วยความรัก
การงานรุ่งเรือง
ร่ำรวยด้วยเสียงหัวเราะ
และเป็นปีที่เรามีเวลามอบความรักให้กันและกัน
A l'aube de cette nouvelle année, par cette carte de voeux, nous vous adressons nos voeux de paix, de joie, et d'espérance.
ปีหน้าฟ้าใหม่ใกล้มาถึงแล้ว เราขออวยพรให้คุณประสบแต่ความสุขสำราญและเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง


วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Pronoms interrogatifs


Pronoms interrogatifs


เมื่อทั้งผู้พูดและผู้ฟังรู้ว่ากำลังพูดถึงอะไรอยู่ แต่ไม่ต้องการพูดซ้ำคำนามนั้น เราสามารถเลือกใช้ Pronoms interrogatifs แทนได้ สรรพนามสำหรับตั้งคำถามนี้มีอยู่ 4 ตัว คือ



lequel แทนนามเอกพจน์เพศชาย

laquelle แทนนามเอกพจน์เพศหญิง

lesquels แทนนามพหูพจน์เพศชาย

lesquelles แทนนามพหูพจน์เพศหญิง



ใช้ตั้งคำถามว่า อันไหน คนไหน โดยไม่ต้องมีนามตามหลังเหมือน quel (ดูเรื่อง adj interrogatif)

เช่น

Il y a 2 voitures. Laquelle est à nous ? มีรถอยู่สองคัน คันไหนเป็นของเรา

De ces deux bus, lequel prends-tu ? มีรถบัสอยู่สองคัน เธอขึ้นคันไหน



บางครั้งอาจมีบุรพบทนำหน้าได้ เช่น

De ces livres, desquels (de+lesquels) est-ce que tu parles ? หนังสือกองนี้ เธอพูดถึงเล่มไหนอยู่ (parler de)

Il y a 2 chiens. Avec lequel as-tu joué ? มีหมาอยู่สองตัว เธอเล่นกับตัวไหน



สำคัญ สรรพนาม 4 ตัวนี้สามารถทำหน้าที่เป็นกรรมตรงได้ เมื่อมาอยู่หน้ากริยาช่วยavoir แล้วตามหลังด้วย participe passé จะส่งผลให้เกิดการ accord ด้วย คนช่างสังเกตจะเห็นความแตกต่างทันที ออกข้อสอบบ่อย เช่น



Lequel est-ce que tu as choisi ?เธอเลือกอันไหน

Laquelle est-ce que tu as choisie ?

Lesquels est-ce que tu as choisis ?

Lesquelles est-ce que tu as choisies ?

วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Conjonction

Conjonction

คำเชื่อมบอก เหตุ ผล แย้ง เป้า

กลุ่มที่ 1 คำเชื่อมบอกเหตุ เพราะอะไร มักจะเป็นคำตอบของคำถาม Pourquoi


1.1   คำเชื่อมบอกเหตุที่ตามด้วยประโยค indicatif (mode indicatif ก็คือกริยาที่กระจายใน temps Présent, passé composé, imparfait, plus-que-parfait, futur simple, futur antérieur เป็นต้น)

* Parce que (เพราะว่า) + phrase à l’indicatif

EX. Julien est en retard parce que son réveil n’a pas sonné. จูเลียงมาสาย เพราะนาฬิกาปลุกไม่ทำงาน
* Car (เพราะว่า)  + phrase à l’indicatif
(sourtout à l’écrit) นิยมใช้ในภาษาเขียนนะครับ
EX. Les gens des pays occidentaux vont souvent dans les pays asiatiques car il n’y a pas beaucoup de soleil chez eux en hiver. คนจากประเทศตะวันตกชอบมาเที่ยวประเทศในเอเชียเพราะในฤดูหนาว ที่บ้านของพวกเขาไม่ค่อยมีแสงแดด
* Puisque, comme (เนื่องจาก)  + phrase à l’indicatif
EX. Puisque tu es Thaïlandais, tu as un passeport thaïlandais. เนื่องจากเธอเป็นคนไทย เธอก็ต้องมีพาสปอร์ตไทย
Puisque จะนิยมวางไว้หน้าประโยคหรือตรงกลาง ส่วนComme นิยมวางไว้หน้าประโยค
การใช้ puisque และ comme เป็นการบอก เหตุ ที่เรารู้กันดีว่าจะส่งไปสู่ ผล อะไร ดังเช่น ตัวอย่างที่ยกไว้ ก็ในเมื่อเป็นคนไทย ก็ต้องมีพาสปอร์ตไทย คนพูดก็รู้คนฟังก็รู้ ไม่มีข้อโต้แย้ง หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง Puisque tu ne veux pas m’accompagner, j’y vais seul. ก็เธอไม่อยากไปเป็นเพื่อนฉัน ฉันไปคนเดียวก็ได้ (เธอรู้ ฉันรู้) แต่ J’y vais tout seul parce que mon père ne veut pas m’accompagner. ฉันไปคนเดียว เพราะพ่อไม่อยากไปด้วย (ฉันรู้ แต่คนฟังไม่รู้ ก็เลยอธิบายเหตุผล) ในภาษาอังกฤษเทียบเคียบได้กับ since

1.2 คำเชื่อมบอกเหตุที่ตามด้วยนามหรือสรรพนาม

*A cause de (เพราะ...) + nom, pronom

(idée négative ou neutre) บอกเหตุที่มีความรู้สึกกลางถึงลบ
EX. Hier, on circulait très mal à cause de la pluie. เมื่อวานนี้รถติดมากเพราะฝนตก
Grâce à + nom, pronom
(idée positive) บอกเหตุที่เป็นแง่บวกเท่านั้น
EX. La vie des villageois a complètement changé grâce àl’électricité. ชีวิตชาวบ้านเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อมีไฟฟ้า

กลุ่มที่ 2 คำเชื่อมบอก ผล

* Donc (ดังนั้น ออกเสียงว่า ด๊ง) ตามด้วยประโยค indicatif

EX. Marie est malade, donc elle reste au lit. มารีป่วย ดังนั้น เธอจึงนอนพักอยู่บนเตียง

*Alors (ดังนั้น) ตามด้วยประโยค indicatif

EX. Vous avez 18 ans, alors vous pouvez voter. พวกเธอมีอายุ 18 ปีแล้ว ดังนั้น เลือกตั้งได้

*C’est pour ça que (ด้วยเหตุนี้) ตามด้วยประโยค indicatif (หรือพูดยาว ๆ ว่า C’est la raison pour laquelle)

EX. Je me suis trompé de bâtiment. C’est pour ça que je n’ai pas trouvé l’appartement. ฉันจำตึกผิด ก็เพราะเหตุนี้ฉันก็เลยหาคอนโดไม่เจอ

กลุ่มที่ 3 คำเชื่อมบอกความ แย้ง” ข้อความหน้าและหลัง ขัดกัน

 

3.1 คำเชื่อมบอกความขัดแย้งที่ตามด้วยประโยค indicatif

*Mais (แต่) ตามด้วยประโยค indicatif

EX. Je veux aller à l’étranger, mais je n’ai pas assez d’argent. ฉันอยากไปต่างประเทศ แต่ไม่มีเงินพอ

*Pourtant, cependant (แม้กระนั้น) ตามด้วยประโยค indicatif

EX. Il n’est pas riche, pourtant il a beaucoup d’amis. เขาไม่รวย แม้กระนั้น เขาก็มีเพื่อนเยอะ

3.2 คำเชื่อมบอกความขัดแย้งที่ตามด้วย นาม หรือ สรรพนาม

*Malgré (แม้ว่า) + nom, prénom

EX. Malgré la pluie, le travail continue. แม้ว่าฝนจะตก งานก็ดำเนินต่อไป
ใช้ expression “quand même” บอกความขัดแย้งได้ เช่น Il pleut. Le travail continue quand même.

3.3 คำเชื่อมบอกความขัดแย้งที่ตามด้วยประโยค indicatif
*Même si (แม้ว่า)
EX. Il continue à travailler même s’il est fatigué. เขายังคงทำงานต่อไป แม้ว่าจะเหนื่อย

3.4 คำเชื่อมบอกความขัดแย้งที่ตามด้วยประโยค mode subjonctif

*Bien que, quoique (แม้ว่า) + ประโยค subjonctif

EX. Bien qu’il fasse chaud, nous n’avons pas encore allumé le climatiseur. แม้ว่าจะร้อน แต่เราก็ยังไม่เปิดแอร์ (ห้ามใส่ mais กลางประโยค เหมือนกับการใช้ Although …ที่ห้ามตามด้วย but)

 


กลุ่มที่ 4 คำเชื่อมบอก เป้า ใช้นำคำอธิบายว่าเพื่ออะไร

*Pour, afin de (เพื่อ) + แม่กริยา infinitif (แต่ afin deนิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่า)
EX. On a besoin d’un permis spécial pour conduire un avion. เราต้องมีใบขับขี่พิเศษเพื่อขับเครื่องบิน

*Pour que, Afin que (เพื่อ) + phrase au subjonctif  ระวัง ประโยคที่ตามหลังต้องอยู่ใน mode subjonctif

EX. Les magasins seront ouverts dimanche pour que les gens puissentsubjonctif Verbe Pouvoir faire leurs achats de Noëlร้านค้าจะเปิดวันอาทิตย์เพื่อให้ผู้คนมาจับจ่ายซื้อของเตรียมงานวันคริสต์มาส