วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ชวนไปกินข้าว

 ชวนไปกินข้าว

วันหนึ่งเจอแฮรี่ขณะกำลังเดินไปหาอะไรกิน อยากจะชวนเขาไปกินข้าวกับเราด้วย จะพูดอย่างไรดี

เริ่มด้วยการทักทายตามเคย

Tony: Hi, Harry. How’s thing? {ไฮ แฮหรี่ ฮาวส์ติงเป็นไงบ้าง
Harry: Hi, Tony. I’m fine and you? {ไฮ โทหนี่ อัมฟายน์ แอนดิ้ว}
Tony: Not bad. {นอทแบดก็ไม่เลว

จากนั้นก็ลองถามว่าเขาจะไปไหน Where are you going? คำถามว่าไปไหน หรือWhere did you go? ไปไหนมา เป็นคำถามติดปากคนไทย แต่กับฝรั่ง ใช้กับคนที่ค่อนข้างสนิทดีกว่า เพราะฝรั่งมีความเป็นส่วนตัวสูง ไปถามสุ่มสี่สุ่มห้า เดี๋ยวเขาจะหาว่าเรายุ่งไม่เข้าเรื่อง

Tony: Where are you going? {แวร์อ้าร์ยูโกอิ่งจะไปไหนหรือ
Harry: I’m going to have lunch. {อัมโกอิงทุแฮฟลั้นช์จะไปกินข้าวกลางวัน
Tony: Me, too. Let’s go together. {มีทู่ เล็ทส์โกทุเกเถ่อเหมือนกันเลย ไปด้วยกันสิ
Harry: Sure! {ชั่วร์} ได้เลย เน้นเสียงแบบ ชั่ว

ถ้าเป็นช่วงพัก จากกินข้าวอาจเปลี่ยนเป็น I’m going to have a cup of coffeeจะไปหากาแฟกินสักแก้ว สังเกตว่านิยมใช้กริยา To have กับ Breakfast, lunch, dinner, a cup of coffee, a cup of tea… เพราะ to have ตัวเดียว ได้ทั้งกินและดื่ม

ถ้าแฮรี่เกิดไม่ว่างขึ้นมา เขาจะตอบว่า I’m afraid I can’t. หรือ Sorry, I can’t. และให้เหตุผลว่า I’m waiting for my boss หรือ my friends กำลังรอเจ้านายหรือเพื่อน รู้แบบนี้ไม่ต้องไปคะยั้นคะยอให้เขามาด้วยเด็ดขาด เดี๋ยวเขาเลิกคบเอา เราอาจจะอุทานแสดงความเสียดายสักนิดว่า What a pity! เสียดายจัง แฮรี่ก็อาจตอบมาว่า Maybe, next time. คราวหน้าก็แล้วกัน


ลองเอามารวมกันหน่อย

Tony: Hi, Harry. How’s thing? {ไฮ แฮหรี่ ฮาวส์ติง}
Harry: Hi, Tony. I’m fine and you? {ไฮ โทหนี่ อัมฟายน์ แอนดิ้ว}
Tony: Not bad. {นอทแบด}
Tony: Where are you going? {แวร์อาร์ยูโก๊อิ่ง}
Harry: I’m going to have lunch. {อัมโกอิงทุแฮฟลั้นช์}
Tony: Me, too. Let’s go together{มีทู่ เล็ทส์โกทุเกเถ่อ}
Harry: I’m afraid I can’t. I’m waiting for my boss. {อัมอะเฟรดไอค้านท์ อัมเวทถิ่งฟอร์มายบอส}
Tony: What a pity! {วอททะพิถี่}
Harry: Maybe, next time. {เมบี เน็กส์ไทม์}
Tony: Ok. See you. {โอเค ซียูตกลง แล้วเจอกันนะ
Harry: See you. {ซียูแล้วค่อยเจอกัน

กริยา See นอกจากแปลว่า เห็น แล้ว ยังใช้บ่อยในการร่ำลากันแบบเพื่อนอย่างที่เห็นในตัวอย่าง ในภาษาพูด อาจจะเพี้ยนเสียงเป็น {ซียาก็ขอให้เข้าใจว่าคือ See you นั่นเอง นอกจากนี้ See ยังใช้ในความหมาย understand หรือเข้าใจ ได้อีกด้วย เช่น You see?หรือ Do you see? ซึ่งแปลว่า เข้าใจไหม เวลาตอบก็ง่ายมาก I see. ไปเลย หรือจะใส่Oh! แล้วค่อย I see. ตามแบบชื่อรายการ OIC ของช่องห้าก็ได้

จำไว้ OIC แปลว่า อ้อ เข้าใจแล้ว

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

ประโยคเงื่อนไข

ประโยคเงื่อนไข

และแล้วก็มาถึงเรื่องประโยคเงื่อนไข ก่อนเริ่มเข้าเนื้อหา ให้เปิดไปทบทวนการกระจายกริยาใน

présent
impératif
futur simple
imparfait
plus-que-parfait
conditionnel présent
conditionnel passé

ถ้าหากยังกระจายกริยาในรูปแบบเหล่านี้ไม่คล่อง การเรียนประโยคเงื่อนไขจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ นอกจากความสับสนและความท้อถอย บอกแล้วว่า เสายังไม่แข็งแรง จะก่อกำแพงได้อย่างไร สำหรับคนที่มั่นใจว่าน่าจะผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ ก็มาเริ่มเรียนกัน ประโยคเงื่อนไขแบ่งออกเป็น 3 แบบ

แบบที่ 1 แบ่งย่อยออกเป็น 3 แบบ

1. Si+présent, présent (เป็นจริงเสมอในปัจจุบัน เป็นนิสัย)
S’il fait beauเวลาอากาศดี, on sort. เรามักออกไปข้างนอก

2. Si+présent, futur simple (มีโอกาสเป็นจริงในอนาคต)
S’il pleutถ้าฝนตก, on ne pourra pas rentrer. เราคงจะกลับบ้านไม่ได้

3. Si + présent, impératif (ประโยคคำสั่ง)
Rentre chez toi กลับบ้านไปเสีย si tu peux.ถ้าทำได้

ระวัง

ตำแหน่งของ Si สามารถสลับลงไปอยู่กลางประโยคได้อย่างที่เห็นในประโยคที่ 3 เครื่องหมายลูกน้ำก็จะหายไปเพราะมี Si ทำหน้าที่เชื่อมอยู่กลางประโยค การทำประโยคเงื่อนไขจึงต้องระวังตำแหน่งของ Si เพราะรูปแบบกริยาที่ตามหลังจะสลับกันด้วย เช่น

S’il pleut, on ne pourra pas rentrer. รูปแบบคือ Si présent, futur simple
On ne pourra pas rentrer s’il pleut. รูปแบบคือ Futur simple si présent

แบบที่ 2 พูดในสิ่งที่ไม่เป็นจริงหรือเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน

Si + imparfait, conditionnel présent

ตัวอย่าง
Si j’étais toiถ้าฉันเป็นเธอ, je choisirais l’argent. ฉันเลือกเงิน แต่ฉันเป็นเธอไม่ได้ ถ้าเป็นได้ฉันก็คงเลือกเงินจริง ๆ
Je ferais le tour du monde ฉันจะเดินทางรอบโลกsi j’étais riche.ถ้ารวย เผอิญตอนนี้ไม่รวย ก็เลยได้แต่นั่งฝันอยู่ตรงนี้...เฮ้อ

แบบที่ 3 สมมติในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วในอดีต

Si + plus-que-parfait, Conditionnel passé

ตัวอย่าง
S’il n’avait pas trop bu hierถ้าเมื่อวานเขาไม่เมา, il n’aurait pas eu l’accident.เขาก็ไม่เกิดอุบัติเหตุหรอก  ความเป็นจริงคือมันเมาแอ๋เมื่อวานนี้ แล้วก็ขับรถไปเสยตอม่อสะพานเข้า อาการเป็นตายเท่ากัน เพื่อน ๆ ก็ได้แต่นั่งบ่นว่าไม่น่าเลย...สงสัยได้กินข้าวต้มฟรีอีกแล้ว


จำให้แม่นว่า
présent ต้อง Futur (S)
imparfait คู่ condi présent
plus-que-parfait ต้อง
คู่กับ conditionnel passé

Condition หรือการทำประโยคเงื่อนไข เป็นที่รวมของรูปแบบกริยาแทบทุกแบบ คนที่ทำประโยคเงื่อนไขได้ดี จะทำรูปประโยค Discours direct/indirect ได้ดีเช่นกัน แต่ถ้าใครยังผ่านตรงนี้ไม่ได้ คงรู้ชะตากรรมตัวเอง
แต่มนุษย์ไม่ได้สร้างไว้ให้เป็นผู้แพ้มิใช่หรือ
อุทิศเวลาสักวันสองวัน ศึกษาการกระจายกริยาให้ถ่องแท้ แค่นี้หนทางข้างหน้าก็สดใสแล้ว


ต้องขอขอบคุณเว็ปที่ได้ขอนำความรู้มาเผิยแพร่  http://www.bonjourajarnton.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=487655

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

ทำความรู้จัก

ทำความรู้จัก (ต่อ)

ในบทสนทนาที่ผ่านมา เมื่อเราถามฝรั่งว่า เขาทำงานหรือเป็นนักเรียน Are you working here? Or you are a student? แล้วเขาตอบว่า I’m a student. เนื้อหาการคุยก็จะเปลี่ยนไป อาจจะลองถามเขาว่าเขาเรียนอะไรอยู่ด้วยคำถามง่าย ๆ เช่น What are you studying? แล้วเขาก็จะบอกสาขาวิชาที่เขาเรียน เช่น

MBA ปริญญาโทบริหารธุรกิจ
Journalism วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
Food science วิทยาศาสตร์การอาหาร
Law กฎหมาย เป็นต้น

แต่สาขาวิชาบางสาขาก็มีชื่อย่อซับซ้อน เหลือจะเดา คนเรียนเท่านั้นที่รู้ว่ามันคืออะไรอย่างเช่น MA in BL หรือ MA in TRM ถ้าเราฟังแล้วไม่เข้าใจ ไม่รู้จัก ก็ไม่ต้องไปทำหน้าทำตารู้ดี ฝรั่งเป็นพวกจับความรู้สึกเก่ง พอเห็นเราทำท่ารู้ดีแบบไม่เนียน เขาก็จะถามDo you know it? คุณรู้จักด้วยเหรอ เอาละสิ คราวนี้จะ Yes หรือจะ No ก็เงอะงะไปหมด ถ้าไม่รู้ก็ถามไปเลยตั้งแต่แรกว่า MA in BL หรือ MA in TRM น่ะ มันคืออะไร แล้วคำถามก็ง่ายมาก What is it? แค่นี้เอง เช่น

-          Are you working here? Or you are a student?
-          I’m a student.
-          What are you studying? {วอททาร์ยูสตัดดิอิ่ง}
-          I’m studying MA in TRM. {อัมสตัดดิอิ้ง เอ็มเอ อิน ทีอาร์เอ็ม}
-          What is it? {วอทอีสสิด}
-          Master of Arts in Tourism Management. {แมสเตอร์ออฟอาร์ส อินเทอริสซึ่มแมเนจมึนท์}

อ๋อ ที่แท้ก็เรียนปริญญาโท สาขาบริหารจัดการการท่องเที่ยว ถ้าเป็น MA in BL ก็จะเป็นMaster of Arts in Business Law ปริญญาโทกฎหมายธุรกิจการค้านั่นเอง

อย่าไปอายที่จะถาม และอย่าไปอายที่จะบอกว่าเราไม่รู้จัก ดีกว่าไปเสแสร้งตาลอยทำเป็นรู้ ถ้าเจอฝรั่งใจร้ายอยากแกล้ง เขาก็จะถามไล่จนเราจนมุม อาย เสียความรู้สึก เสียความมั่นใจและเกิดอาการเกลียดฝรั่งเสียเปล่า ๆ

เมื่อถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาได้แล้ว ก็อย่าลืมบอกข้อมูลตัวเองบ้าง การสนทนาที่ดีจะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ไม่ใช่เอาแต่ถาม ๆๆๆๆ เขาฝ่ายเดียว
ถ้าเรายังไม่ได้ทำงาน เป็นนักศึกษาอยู่ก็บอกเขาไปเลยว่า ฉันเรียนอะไรอยู่ เช่น

I’m studying Law. ฉันเรียนกฎหมาย
I’m studying BA. ฉันเรียนบริหารธุรกิจ
I’m studying IT. ฉันเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศ
แล้วจะบอกต่อว่าที่มหาวิทยาลัยไหน ก็ใช้ at บวกชื่อสถานศึกษาเข้าไปเลย เช่น

I’m studying Computer Science at Ramkamhaeng university. ฉันเรียนวิทย์-คอม ที่รามฯ เป็นต้น

าดูว่าบทสนทนาเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

-          Good morning. I’m Apichart. And you? {กึดมอร์นิง อัมอภิชาต แอนยู้}
-          Pardon? What’s your name? {พาร์ดั๊น วอทส์ยัวร์เนม}
-          My name is A-pi-chart. A-P-I-C-H-A-R-T, Apichart.
-          A-pi…What????
-          My English nickname is Tony. {มายอิงลิชนิคเนมอีส โทหนี่}
-          Ahhh! Tony! Hi. I’m Harry. Glad to know you. {อ้าาา โทหนี่ ไฮ อัมแฮหรี่ แกลดทุโนวยู}
-          Glad to know you, too. Are you working here? Or you are a student? {แกลดทุโนวยูทู อาร์ยูเวิร์กกิงเฮี๊ยร์ ออร์ยูอาร์ เอ สทิวดึนท์}
-          I’m a student. {อัม เอ สทิวดึนท์}
-          What are you studying? {วอททาร์ยูสตัดดิอิ่ง}
-          I’m studying MA in TRM. {อัมสตัดดิอิ้ง เอ็มเอ อิน ทีอาร์เอ็ม}
-          What is it? {วอทอีสสิท}
-          Master of Arts in Tourism Management. {แมสเตอร์ออฟอาร์ส อินเทอริสซึ่มแมเนจมึนท์}
-          Oh! Great! I’m studying Computer Science at Ramkamhaeng university. {โอ้ เกรท อัมสตัดดิอิงคัมพิวเตอร์ซายส์แอทรามคำแหงยูนิเวอร์ซิถี่} (ถี่ ไม่ใช่ตี้)
.........................................................
-          Well, I’ve got to go. Glad to meet you and hope to see you again. {เวล อัฟก็อตทุโก แกลดทุมีททิว แอนด์โฮปทุซียูอะเกน}
-          Thank you. See you later. {แธงกิ่ว ซียเลเถ่อร์} (ลงเสียงต่ำไว้ด้วย เถ่อไม่ใช่ เท่อ)

เริ่มต้นคุยได้แค่นี้ก็ถือว่าเก่งแล้วละ....จบ